ต้องยอมรับว่า ” ภาษี ” นั้นเป็นเรื่องที่ อาจดูยุ่งยากและเข้าใจยากสำหรับเด็กจบใหม่ หรือ คนธรรมดาทั่วไป เนื่องจากหลายๆโรงเรียน รวมไปถึง มหาวิทยาลัยในบางคณะอาจไม่ได้สอนเกี่ยวกับภาษี ดังนั้นวันนี้เราสรุปให้เข้าใจได้ง่ายมากๆสำหรับทุกๆคนครับ

ภาษี แบบเข้าใจง่าย
1. ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บตรงๆ จากคนและธุรกิจที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ได้แก่ภาษี
    – ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    – ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    – ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
2 ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เกิดจากการใช้จ่ายทั่วไป เช่น ซื้อสินค้าและบริการทั่วไป ได้แก่ภาษี
    – ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)
    – ภาษีธุรกิจเฉพาะ
    – อากรแสตมป์
    – ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 
หน่วยงานที่ทำหน้าที่เรียกเก็บภาษีคือ “กรมสรรพากร” นอกจากนี้ ยังมี
กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นต้น
สิ่งควรรู้ในการวางแผนภาษี
1. รายได้ ที่เราได้รับว่าเป็นรายได้ประเภทไหน
2. ค่าใช้จ่าย มีอะไรบ้างที่หักออกจากรายได้ก่อนนำไปคำนวนภาษี
3. ค่าลดหย่อน มีอะไรบ้างที่หักออกจากรายได้สุทธิก่อนนำไปคำนวนภาษี
4. วิธีคำนวนภาษีเงินได้ รวมถึงอัตราภาษีที่เราต้องนำมาคำนวน
หากเจ้าของอยากทำบัญชีเองได้หรือไม่
บุคคลธรรมดา
– สามารถทำบัญชีเองได้ โดยรวบรวมข้อมูลและเอกสารทั้งหมดไว้ด้วย 
นิติบุคคล
– ต้องจัดให้มีการทำบัญชีโดยนักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแล พร้อมให้ตรวจสอบบัญชีและงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตทุกๆปี
สรรพากร ตรวจสอบรายได้เราจากไหน
1. ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
2. บันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ 2 แห่งขึ้นไป
3. สำรวจสถานประกอบการจริง
4. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เช่น โครงการต่างๆ จากรัฐบาล
5. มาตรการส่งข้อมูลบัญชีธนาคาร
6. ภาษี e-service
7. Big data
8. เปิดให้แจ้งเบาะแสผ่านเว็ปไซต์ของสรรพากรเอง คลิ๊กตรงนี้เลย 
วิธีรับมือกับสรรพากรแบบไม่ต้องกังวล
1. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ
2. ทุกรายการที่เข้าและออก ของ Bank statement ต้องอธิบายให้ได้ว่าที่มาที่ไปคืออะไรบ้าง
3. เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจทั้งหมด
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน
ทั้งแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) และ ภาษีปลายปี (ภ.ง.ด.90/91) และในกรณีที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ภาษีประจำเดือนเช่น (ภ.พ.30)
หนีภาษีได้มั้ย
หนีภาษี = ผิดกฏหมาย
บทลงโทษของการหนีภาษี
1. ค่าปรับ
2. เบี้ยปรับ
3. เงินเพิ่ม
4. หากไม่มีจ่าย สรรพากรจะดำเนินการขายทรัพย์สินของเราไปทอดตลาดทันที
*** ถึงแม้ว่าศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่สรรพากรก็ยังตามเก็บภาษีได้อยู่ และถึงแม้ว่าเราจะตามไป สรรพากรก็จะตามเก็บกับลูกหลานต่อไป ***
ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้โดนภาษีย้อนหลัง
1. ศึกษาและทำความเข้าใจ
2. หาที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี
3. แยกบัญชีธนาคารส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ
4. จดบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
5. ติดตามข่าวสารด้านภาษีให้สม่ำเสมอ

เสียภาษีแล้วสามารถโดนตรวจสอบย้อนหลังได้ไหม

– แต่ หากยื่นภาษีครบถ้วน สรรพากรจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้เพียง2ปี และขยายได้ไม่เกิน5ปี
– แต่ หากไม่เคยยื่นภาษีเลย สรรพากรสามารถเรียกตรวจสอบได้สูงสุด10ปี
ดังนั้นควรยื่นแบบให้ครบถ้วนที่สุด
ได้จดหมายจากสรรพากรมาทำยังไงดี
โดยปกติแล้ว หากยื่นภาษีครบถ้วน ถูกต้องจะไม่ได้รับจดหมายจากสรรพากร แต่ถ้าหากได้รับ ให้ทำตามขั้นตอนนี้
1. อ่านและทำความเข้าใจว่าคืออะไร
: ปกติจะเป็นการขอพบ ขอเชิญ ขอตรวจสอบ ขอข้อมูล หรือ ขอให้มาเป็นพยาน 

2. ดูวันเวลาที่นัด และ คนที่เชิญ
: ตรวจสอบวันเวลาที่นัดหมาย สามารถโทรไปเลื่อนเวลาได้หากติดธุระหรือไม่ว่างจริงๆ

3. เตรียมเอกสารและหลักฐาน ที่แสดงถึงยอดรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ
: เตรียมเอกสารทางการเงิน ที่ใช้ทำธุรกิจทุกอย่างเพื่อที่จะยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน

4. เข้าพบเจ้าหน้าที่
: เมื่อถึงวันเวลานัดหมาย ให้รีบไปยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบ

เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น แต่ห้ามเพิกเฉยต่อจดหมายโดยเด็ดขาด
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรือ ให้ช่วยวางแผนด้านภาษี
ช่องทางการติดต่อ

โทร : 02 009 2298-99
Line @bsaaudit
Email: bsaaudit@gmail.com
ที่อยู่ : 674 บรมราชชนนี ซอย8 ถนน บรมราชชนนี แขวง บางบำรุ เขต บางพลัด กรุงเทพ 10700

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า